พระอุโบสถวิหาร พระเจดีย์ในสยาม ลวดลายจิตรกรรม เครื่องปั้นดินเผา คน บ้าน เมือง กระดานชนวน


ช้างในต้นเสาที่ค้ำพระวิหาร

คลิกที่กระดานชนวนเพื่อแสดงความคิดเห็นของท่านได้เลยครับ

ในภาพคือ ช้างลงรักปิดทอง บนต้นเสาภายในวิหารวัดช้างค้ำ จังหวัดน่าน

นอกเหนือไปจากวิถีชีวิตชาวบ้านที่เลี้ยงช้างเอาไว้เพื่อใช้ประโยชน์ในการชักไม้ลากซุงแล้ว 'ช้าง' ยังเป็นสัตว์ประเภทหนึ่งที่ปรากฎตัวในงานพุทธศิลป์อยู่บ่อยครั้ง ทั้งในรูปของเจดีย์และลวดลายจิตรกรรม ซึ่งทำหน้าที่ประหนึ่งเป็นผู้แบกค้ำพระพุทธศาสนา ให้ดำรงคงอยู่อย่างถาวรในชั่วกัปชั่วกาล

แม้ในพระพุทธประวัติก็ยังพบเรื่องราวของช้างปาลิไลยก์ ที่อยากถวายตัวเป็นข้ารับใช้พระพุทธเจ้า ซึ่งผิดกันไกลกับการใช้ประโยชน์จากช้างเพื่อการศึกสงครามในทุกยุคทุกสมัย

ในยุคที่ 'คนเลี้ยงช้าง' พาเพื่อนคู่ทุกข์คู่ยากของตัวเองออกเดินเกร่หาโชคชะตาบนท้องถนน ณ วันที่ตำราคชบาลไม่มีคุณค่ามากไปกว่าการเป็นหนังสือโบราณที่หาซื้อกันได้ด้วยมูลค่าของเงิน ช้างที่เคยเป็นสัตว์สูงสง่า และปรากฎตัวบนผืนธงของสยาม อาจกำลังสงสัยว่าตัวเองจะยืนอยู่ตรงไหน บนพื้นที่อันรกร้างว่างเปล่าทางจิตวิญญาณของสังคมไทย ?

บรรพบุรุษของชาวน่าน เป็นชนกลุ่มหนึ่งที่มีชื่อว่า ชนชาติกาว แต่ในปัจจุบันชื่อของพวกเขาหลงเหลืออยู่เพียงบนหลักศิลาจารึก และในเอกสารโบราณในแถบล้านนาเท่านั้น ไม่มีเหลือแม้เรื่องเล่า ตำนาน และมุขปาฐะต่าง ๆ แม้คุณเอ่ยปากถามกับชาวน่านแท้ ๆ ก็น้อยคนนักที่จะเคยได้ยินชื่อของชนกลุ่มนี้ !

ในอนาคตจังหวัดน่านอาจจะได้ครองตำแหน่งเมืองมรดกโลกคู่กับหลวงพระบาง ในปัจจุบันชาวน่านเขากำลังพยายามกันอยู่ !

เมืองน่านก็มี 'สนามหลวง' นะครับ ใครอยากเห็นสนามหลวงเมืองน่าน ไปดูได้ที่สนามฟุตบอลของโรงเรียนที่อยู่ตรงข้ามวัดภูมินทร์ !

รายละเอียดเกี่ยวกับข้อมูล
รายละเอียดเกี่ยวกับภาพประกอบ
ภาพช้างล้อมต้นเสาสีแดงชาดภายในวิหารวัดช้างค้ำ ภาพนี้เป็นลิขสิทธิ์ของนายไมเคิ้ล เลียไฮ ถ่ายเอาไว้เมื่อต้นปี ๒๕๔๖ เคยตีพิมพ์ลงในนิตยสารเที่ยวสนุก ปีที่ ๒ ฉบับที่ ๑๘ พฤษภาคม ๒๕๔๖
สนใจแลกลิ้งค์ติดต่อมาที่ ThailandArtWeb@yahoo.com
Free Web Hosting